logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • Road Kills หายนะสัตว์ป่า

Road Kills หายนะสัตว์ป่า

โดย :
สิริประภาภรณ์ สิงหบุราจารย์
เมื่อ :
วันศุกร์, 06 มีนาคม 2563
Hits
7774

          ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ สื่อหลายช่องทางต่างนำเสนอเรื่องราวอันน่าหดหู่ใจเกี่ยวกับปัญหาการสูญเสียสัตว์ป่าที่ล้มตายจากอุบัติเหตุบนทางถนน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก เรามาติดตามกันดีกว่าว่า ปัญหานี้สร้างผลเสียอะไร และเราจะช่วยกันได้อย่างไรบ้าง

11201 1

ภาพสัตว์ป่าที่ถูกรถชนบนถนน
ที่มา https://pixabay.com/th , Amber_Avalona

          การขยายตัวของความเจริญไปในแต่ละพื้นที่ในปัจจุบัน ที่เราอาจมองว่า ถนนดี ๆ มีความจำเป็นต่อมนุษย์มากกว่าสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ แต่หารู้ไม่ว่า นั่นคือเส้นทางแห่งหายนะของสัตว์ป่าจำนวนมาก ที่ต้องสังเวยชีวิตบนทางถนนคอนกรีตที่ตัดผ่านผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ หรือที่เราเรียกว่า “Road Kills”  มีรายงานเกี่ยวกับความสูญเสียทางชีวภาพจากแถลงรายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ไว้ว่า โลกได้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ไปแล้วเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ แต่นี่ก็คือข้อมูลเมื่อปี ค.ศ.1970 ซึ่งดูจากสถานการณ์ปัจจุบันก็พอที่จะคาดเดาได้ว่า ตัวเลขจากรายงานดังกล่าวต้องมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งจากปัญหาสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าว “Road Kills” ซึ่งเกิดจากการสร้างถนน ถูกจัดเป็นหนึ่งในปัจจัยอื่น ๆ เช่น การล่า การสร้างเขื่อน ขยะที่ไม่ย่อยสลาย สารเคมีในการเกษตร

“Road Kills” ในประเทศไทย

         ในประเทศไทยมีรายงานถึงความไม่ปลอดภัยของสัตว์ป่า จากเส้นทางที่ไม่ปลอดภัยนี้อยู่จำนวนมากถึง 75 จุด ซึ่งเป็นเส้นทางถนนที่ตัดผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือผืนป่าอนุรักษ์จากทั่วประเทศ 

          หลักฐานที่เราเห็นได้ชัดอยู่บ่อย ๆ ก็คือ ในช่วงเทศกาลประจำปี เส้นทางเหล่านี้ที่มีการสัญจรไปมาอย่างหนาแน่น รวมไปถึงเส้นทางเหล่านี้มักเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในวันหยุด  สัตว์ป่าที่มักได้รับผลกระทบและรบกวนการดำรงชีวิต ร้ายแรงที่สุดก็คือการถูกรถชนตาย ได้แก่ ช้าง เสือ ลิง เก้ง กวาง แมวดาว งู ไก่ป่า เป็นต้น

          สถานที่และเส้นทางที่มักพบมีสถิติเกิดอุบัติเหตุรถชนสัตว์ป่าอยู่บ่อย ๆ ก็เช่น อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดจันทบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา แต่ที่ตกเป็นข่าวสะเทือนใจมากที่สุดก็คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก อันได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรีนี้เอง ซึ่งเคยมีตัวเลขบันทึกไว้ว่า ถนนสาย 3259 ช่วงตัดผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ระหว่างกิโลเมตรที่ 15-30 มีสัตว์ป่าถูกรถชนตายปีละกว่า 14,000 ตัว ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของถนนที่ตัดผ่านป่าต่อการสูญเสียสัตว์มีกระดูกสันหลังในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน” โดยไสว วังหงษา และกัลยาณี บุญเกิด นักวิชาการประจำสถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทรา สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ได้ทำการศึกษาไว้เมื่อปี พ.ศ.2542

          จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว นอกเหนือจากปัญหาความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  ยังมีผลกระทบต่อเนื่องไปอีกมากมาย เช่น อัตราการขยายของการสูญพันธุ์ การทำลายถิ่นอาศัยของสัตว์ การแบ่งแยกถิ่นอาศัย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์ การบุกรุกของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำ มลพิษทางเสียง น้ำ อากาศ รวมถึงการส่งเสริมการลักลอบตัดไม้และการล่าสัตว์ รวมเรียกได้ว่า เป็นปัญหาทางนิเวศวิทยาที่เรียกว่า Ecological Armageddon  ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

แนวทางการแก้ปัญหา

          จากเหตุการณ์และรายงานตัวเลขที่มีการบันทึกไว้ตามที่กล่าวไปข้างต้นนั้น สร้างกระแสให้ประเทศไทยเริ่มตื่นตัวมากขึ้นในการแก้ไขปัญหานี้ เช่น

  1. เริ่มมีการเปิดปิดเส้นทางเป็นเวลา ตามสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงเวลา 18.00–21.00 น.

  2. ทำแนวเชื่อมต่อผืนป่าในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น ทำทางยกระดับ หรือทำอุโมงค์เชื่อมผืนป่า เพื่อให้สัตว์สามารถข้ามไปมาได้โดยไม่เกิดอันตราย

  3. รณรงค์และคัดค้านการสร้างถนนคอนกรีตบนถนนสายพะเนินทุ่ง ผืนป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

          และที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ผู้เขียนก็อยากให้ผู้อ่านทุกคนนั้นได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย เริ่มจากตัวเราเองก่อน ซึ่งก็เชื่อว่าอย่างน้อยก็เคยได้เดินทางไปบนเส้นทางเหล่านี้ ก็ขอให้ขับรถและใช้พื้นที่อย่างระมัดระวัง อย่าให้สัตว์ป่าของเราต้องจบชีวิตไปด้วยฝีมือของคนที่ผ่านไปผ่านมาอย่างพวกเรา ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เกิดขึ้นและเป็นผลกระทบที่เราต้องเรียนรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ติตตามกันต่อในตอนต่อไป

 

แหล่งที่มา

ชุติมา ซุ้นเจริญ. Road Kills ทางตายสัตว์ป่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563. จาก https://www.judprakai.com/life/758

เปิดภาพสัตว์ป่าสงวนหากินบนถนน“พะเนินทุ่ง”. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563. จาก https://news.thaipbs.or.th/content/275470

สถานภาพด้านการอนุรักษ์ของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563. จาก https://www.citizenthaipbs.net/node/11270

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การตายของสัตว์ป่า, Road Kills,ความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ,ปัญหาทางนิเวศวิทยา,Ecological Armageddon
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 17 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สิริประภาภรณ์ สิงหบุราจารย์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11201 Road Kills หายนะสัตว์ป่า /article-biology/item/11201-road-kills
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ชะพลูคู่กับเมี่ยงคำ
ชะพลูคู่กับเมี่ยงคำ
Hits ฮิต (21610)
ให้คะแนน
ชะพลูคู่กับเมี่ยงคำ สุนทร ตรีนันทวัน หลาย ๆ คนคงจะเคยรับประทานเมี่ยงคำ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารับประทา ...
DNA อี และการศึกษาวิวัฒนาการ
DNA อี และการศึกษาวิวัฒนาการ
Hits ฮิต (19379)
ให้คะแนน
DNA อี และการศึกษาวิวัฒนาการ สุทธิพงษ์ พงษ์วร เมื่อตอนเด็กๆ สมัยที่เริ่มเรียนวิทยาศาสตร์ในระยะแรก ผ ...
ระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน
Hits ฮิต (53493)
ให้คะแนน
ระบบภูมิคุ้มกัน โลกทุกวันนี้มีอันตรายอยู่รอบตัว ทั้งที่มองเห็นได้และมองไม่เห็น อย่างเช่นตอนนี้ หลาย ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)