logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • ราชาแห่งผลไม้ไทย ทำไมต้องทุเรียน?

ราชาแห่งผลไม้ไทย ทำไมต้องทุเรียน?

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันอังคาร, 08 ตุลาคม 2562
Hits
15698

          ประเทศไทยเราถือว่าเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง ผลไม้ถือว่าเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ดีมาก นั่นก็คือเรามีผลไม้ให้รับประทานกันตลอดทั้งปี แถมแต่ละอย่างก็มีทั้งความหลากหลายทางสายพันธุ์และปริมาณด้วย แต่ถ้าถามว่าสุดยอดของผลไม้คืออะไรนั้น หลาย ๆ ท่านที่ชื่นชอบต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทุเรียน” และรองลงมาก็คงไม่พ้น “มังคุด” อย่างแน่นอน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ถูกขนานนามว่าเป็นราชาและราชินีแห่งผลไม้ไทยตามลำดับ แล้วทำไมเค้าถึงนิยามอย่างนั้นนะ.......สงสัยกันบ้างไหมเอ่ย?

 10470 1

ภาพที่ 1 ทุเรียนไทย ราชาแห่งผลไม้ไทย
ที่มา https://pixabay.com/ ,wahwah

           “ทุเรียน” (Durian) ผลไม้ที่มีเปลือกเป็นหนาม เนื้อสีเหลืองทองกับรสชาติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกับผลไม้ใดๆ ในโลก อีกทั้งกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ บางคนก็ว่าเหม็น บางคนก็ว่าหอม อีกทั้งในช่วงฤดูกาลของทุเรียนนี้ ราชาผลไม้เนื้อแน่นรสหวานมันก็จะมีราคาสูงขึ้นไปตามพันธุ์ และขนาด เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า “ทุเรียน” หากกินในปริมาณที่มากเกินไปก็จะให้โทษแก่ร่างกายได้ เพราะเป็นผลไม้ที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และทำให้ตัวร้อน แต่จริงๆ แล้วทุเรียนมีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น ๆ อย่างที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

          ความจริงทุเรียนถือว่าเป็นผลไม้ที่คุ้นเคยกันดีของคนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า ทุเรียน (durian) มาจากภาษามาลายู คือคำว่า duri (หนาม) ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า “เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์”       

10470 2

ภาพที่ 2 เนื้อทุเรียนไทยพันธุ์หมอนทอง
ที่มา สุภาวดี  สาระวัน

          หากกล่าวถึงสรรพคุณสมุนไพรของทุเรียนนั้น อันที่จริงในทางการแพทย์แผนไทย ทุกส่วนของทุเรียนถือว่าเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณทางยา สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับร่างกายคนเราได้ โดย ใบ รสขมเย็นเฝื่อน ช่วยแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ เนื้อทุเรียน รสหวานร้อน ให้ความร้อนแก้โรคผิวหนังทำให้ฝีแห้งและขับพยาธิ เปลือกทุเรียน รสฝาดเฝื่อน ใช้สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสียพุพอง แก้ฝีตานซาง คุมธาตุ แก้คางทูม และไล่ยุงและแมลง ราก รสฝาดขมใช้แก้ไข้และแก้ท้องร่วง

          นอกจากนี้แล้ว ทุเรียนยังสามารถนำไปแปรรูปและทำอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนกรอบ แยมทุเรียน หรือแม้แต่อาหารคาว เช่น นำทุเรียนอ่อนมาทำแกงได้เช่นกัน  นอกจากสรรพคุณทางยาและการนำมาประกอบอาหารคาวหวานแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยหลาย ๆ งานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแปรรูปทุเรียนไม่ว่าจะเป็น เมล็ด  เปลือก และใบ มาใช้ในงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ แก่การเรียนรู้ในยุคนี้ อาทิเช่น

          เปลือกทุเรียนที่ตากแห้งเมื่อนำมาบดละเอียดหรือเผาจนเป็นถ่านแล้วนั้น สามารถนำมาทำเป็นถ่านอัดแท่งจากเปลือกทุเรียน ทดแทนการใช้ถ่านจากฟืนและแก๊สหุงต้มในครัวเรือนได้ดีอีกด้วย ซึ่งถ่านอัดแท่งจากเปลือกทุเรียนยังให้พลังงานความร้อนเทียบเท่าถ่านจากไม้เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นการลดปริมาณขยะที่เกิดจากเปลือกทุเรียน แต่สามารถนำกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดี ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาโดยอาจารย์และนักศึกษา สาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่สามารถนำเปลือกทุเรียนมาทำเป็นกระดาษได้ โดยนักวิจัยจากกลุ่มวิจัยพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเปลือกทุเรียนเมื่อแปรรูปเป็นกระดาษแล้วมีคุณภาพเด่นเฉพาะตัว คือให้เส้นใยนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถผสมเส้นใยของผัก ผลไม้ต่าง ๆ กับเปลือกทุเรียนในการทำกระดาษ จะทำให้ได้กระดาษ ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวต่างกันไป เช่น เปลือกมังคุดได้สีม่วงธรรมชาติ เปลือกแก้วมังกรจะได้กระดาษสีม่วงธรรมชาติและผิวสัมผัสนุ่ม ใบเตยจะได้กระดาษที่มีกลิ่นหอมและมีสี  ซึ่งนักศึกษาจากภาควิชาเทคโนโลยี การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทำกระดาษจากเยื่อเปลือก ทุเรียนขึ้น มีลวดลายในตัวจากหนามทุเรียน โดดเด่นไม่เหมือนใคร คุณภาพดีเหมาะแก่การนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์

          อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เราต้องยกทุเรียนเป็นราชาผลไม้ ก็เพราะกลิ่นเฉพาะของมันนี้เองที่หลาย ๆ คนมองว่าเหม็น แต่หลายคนก็บอกว่าหอมหวนชวนกินเสียเหลือเกิน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลิ่นของมันนี้รุนแรงกว่าผลไม้ทุกอย่างบนโลกใบนี้เลยทีเดียว ด้วยกลิ่นแบบนี้เองที่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เราต้องยกเค้าไว้ในฐานะราชาแห่งผลไม้ไทยเลยล่ะ

แหล่งที่มา

บดินทร์ ชาตะเวที. (2559). ทุเรียนราชาแห่งผลไม้ไทย. คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ  5 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.ttmed.psu.ac.th/

นันทวรรณ บุณยะประภัศร. (2542). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด,

ทองทิพย์ พูลเกษม. (2542). การศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเปลือกทุเรียนเพื่อทดแทนการใช้ฟืนและถ่านในการหุงต้มในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

คงศักดิ์ เลิศอนันตสุข และเบญจรัตน์ พจน์ศิริศิลป. (2551). กระดาษจากเปลือกทุเรียน. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมกล้าธนบุรี.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ทุเรียน, ผลไม้ไทย, ราชาแห่งผลไม้
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 10 มิถุนายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10470 ราชาแห่งผลไม้ไทย ทำไมต้องทุเรียน? /article-chemistry/item/10470-2019-07-01-04-47-42
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ทุน สควค. ระดับปริญญาโททางการศึกษา ปีการศึกษา 2557
ทุน สควค. ระดับปริญญาโททางการศึกษา ปีการ...
Hits ฮิต (20228)
ให้คะแนน
โครงการส่งเสริมการผลิตครูทีมีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค) ทุน สควค. ระดับปริญญ ...
แอสพาร์แตมสารให้ความหวานที่ควรรู้จัก
แอสพาร์แตมสารให้ความหวานที่ควรรู้จัก
Hits ฮิต (25200)
ให้คะแนน
"แอสพาร์แตม" สารให้ความหวานที่ควรรู้จัก เมื่อกล่าวถึง แอสพาร์แตม (aspartam) อาจดูเป็นเรื่องไกลตัว ส ...
ประโยชน์ของหม่อน (Mulberry)
ประโยชน์ของหม่อน (Mulberry)
Hits ฮิต (23602)
ให้คะแนน
หม่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus sp. ชื่อภาษาอังกฤษคือ White Mulberry, Mulberry Tree และมีชื่อภาษาท ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)