logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • ตามหาพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์

ตามหาพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันจันทร์, 13 มกราคม 2563
Hits
8550

           เรามักจะได้ยินคำกล่าวอยู่เสมอที่ว่า “คณิตศาสตร์อยู่รอบตัวเรา” แต่อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ก็เป็นศาสตร์หนึ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาเชิงนามธรรมมากกว่ารูปธรรมในเชิงทฤษฎี บทความนี้ผู้เขียนอยากสะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งให้ผู้อ่านชวนคิดและสงสัยว่า ทำไมประเทศของเราถึงไม่มีพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์เสียที

10976 1

ภาพพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์แห่งชาติ (MoMath)
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:National_Museum_of_Mathematics_11_East_26th_Street_entrance.jpg , Beyond My Ken

          พิพิธภัณฑ์คือสถานที่หรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ในลักษณะสันทนาการความรู้ที่ได้รับจากการจัดแสดง ร่วมกับการอนุรักษ์จัดเก็บฟื้นฟูสภาพ โดยจัดแสดงทั้งในรูปแบบของวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้นและ วัตถุที่เกิดจากธรรมชาติ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ปัจจุบันมีมากมายอาทิ โบราณวัตถุ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมถึงคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

          ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็อย่างที่กล่าวไปข้างต้นก็ยังไม่มีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์เต็มรูปแบบเสียที ที่อาจจะมีก็เพียงชั่วครั้งคราวเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่จริงๆ แล้วคณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติพร้อมกับมนุษย์โลก  ผู้เขียนเองจำได้ว่าในประเทศไทยเคยมีการจัดพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์เคลื่อนที่ในช่วงเวลาหนึ่งที่ผ่านมา แต่เท่าที่สังเกตก็อาจเพราะไม่ค่อยได้รับความนิยมจากคนทั่วไปสักเท่าไหร่ ก็เลยทำให้การจัดแสดงนั้นล้มเลิกไปในที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็อาจเห็นการนำเสนอความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์สอดแทรกผ่านกิจกรรมหรือการจัดแสดงจากนิทรรศการทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่บ้างแล้วในโลกใบนี้พิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์อยู่บ้างหรือเปล่า ผู้เขียนก็ไปหาข้อมูลจนพบว่าที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์อยู่จริง ๆ ชื่อพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์ Okhotsk Mathematicals Wonderland (OMW)  เป็นแหล่งเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ดัดแปลงมาจากอาคารเรียนของโรงเรียนอนุบาล ส่วนใหญ่จัดแสดงและนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ผ่านของเล่นและโมเดลในรูปแบบต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้าน โดยโมเดลเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นจากช่างไม้มาช่วยกันคิดและสร้างสรรค์ผลงานเพื่ออธิบายหลักการทางคณิตศาสตร์ เช่น การสร้างล้อรถ จะสามารถสร้างเป็นทรงอื่นนอกจากวงกลมได้หรือไม่ หรือเราสามารถออกแบบฝาท่อระบายน้ำอย่างไรได้บ้างที่ทำให้ผุ้คนที่เดินผ่านไม่ตกท่อน้ำ  นี้เป็นตัวอย่างการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน และจัดแสดงความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ม่ต่างจากการจัดแสดงทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เราเห็นทั่ว ๆ ไป  ซึ่งที่นี่ก็มีความสำคัญและมีชื่อเสียงอยู่ไม่น้อยในประเทศญี่ปุ่นข้ามทวีปไปอีกด้านหนึ่งของซีกโลก ก็ยังมี พิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์แห่งชาติ (MoMath) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่จัดแสดงนิทรรศการเพื่อการอธิบายหลักการทางคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ที่อยู่รอบตัวของเรา เพื่อกระตุ้นผู้คนที่เข้ามาชมให้สนุกและเพลิดเพลิน และตื่นเต้นไปกับความมหัศจรรย์ของคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ในแต่ละช่วงเวลาก็มีการจัดแสดงนิทรรศการเชิงบูรณาการ เช่น ศิลปะทางคณิตศาสตร์จัดแสดงอยู่ด้วย

          หากผู้อ่านได้มีโอกาสไปเที่ยวชม ก็อย่าลืมส่งข้อมูลมาฝากกันบ้าง ผู้เขียนเองก็หวังว่าในอนาคตของประเทศไทยจะมีพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเด็กไทยในไม่ช้านี้

แหล่งที่มา

Welcome to the National Museum of Mathematics!. Retrieved October 7, 2019, From https://momath.org/

Atiporn Suwan.ท่องแดนปลาดิบ: เยือนพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก https://www.gotoknow.org/posts/157295

Mathematik zum Anfassen นิทรรศการคณิตศาสตร์ที่คุณสัมผัสได้. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก http://122.155.197.218/index.php?option=com_k2&view=item&task=download&id=524_28c1c412ec9e96c917e32cb27019cf97&Itemid=104

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์,คณิตศาสตร์,พิพิธภัณฑ์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10976 ตามหาพิพิธภัณฑ์คณิตศาสตร์ /article-mathematics/item/10976-2019-10-25-07-19-40
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ทำความรู้จักโปรแกรม Scratch โปรแกรมพัฒนาทักษะ
ทำความรู้จักโปรแกรม Scratch โปรแกรมพัฒนา...
Hits ฮิต (22760)
ให้คะแนน
ทำความรู้จักโปรแกรม Scratch โปรแกรมพัฒนาทักษะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งเป็นโปรแกรม ...
eSIM คืออะไร
eSIM คืออะไร
Hits ฮิต (6762)
ให้คะแนน
หลายคนที่มีโทรศัพท์มือถือติดตัวคงรู้จัก ซิมการ์ด (SIM card) ที่ใส่ในโทรศัพท์มือถือใช้เพื่อติดต่อสื่ ...
Image Processing กับประโยชน์ทางการแพทย์
Image Processing กับประโยชน์ทางการแพทย์
Hits ฮิต (20239)
ให้คะแนน
การประมวลผลภาพหรือที่เรียกว่า Image Processing เป็นเรื่องใกล้ตัวของคนเราอยู่มาก เพราะภาพถ่ายหรือภาพ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)