logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • ดำดีสีไม่ตก! มาดูสีที่ดำมืดที่สุดในโลก

ดำดีสีไม่ตก! มาดูสีที่ดำมืดที่สุดในโลก

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 23 ธันวาคม 2562
Hits
9900

          สีดำที่เราเห็นนั้น “ดำ” แค่ไหน ถ้าดูด้วยตาของมนุษย์อย่างเรา ๆ ก็คงจะเห็นสีดำทั้งหลายนั้นดำคล้าย ๆ กันไปหมด ไม่ว่าจะดำแบบไหนก็คือดำ แต่ว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่อะไรที่ตื้นเขินแบบนั้น ระดับนักวิทยาศาสตร์แล้วความดำของสีดำมันต้องวัดได้ ซึ่งวิธีการวัดระดับความดำของสีดำสามารถทำได้โดยการวัดค่าแสงสะท้อนในทุกมุมที่สะท้อนออกมาเมื่อกระทบสีดำว่ามีมากน้อยเพียงใด ยิ่งมีแสงสะท้อนออกมาจากสีดำนั้นยิ่งน้อยเท่าไหร่ (ดูดกลืนแสงเข้าไปได้มาก) สีนั้นก็จะดำมากขึ้นเท่านั้น เรียกได้ว่าดำจนแสงไม่สะท้อนออกมาเลยทีเดียว

10965 1

 ภาพที่ 1 Space Black
ที่มา https://pixabay.com, FelixMittermeier

สีที่เคยดำที่สุดในโลก

          เมื่อปี 2014 บริษัท Surrey NanoSystems  ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศความสำเร็จในการค้นพบและสามารถสร้างสสารที่ดำมืดที่สุดในโลกได้ โดยได้อ้างว่าสามารถดูดกลืนแสงที่มาตกกระทบได้มากถึง 99.96% (มีแสงสะท้อนออกมาไม่เกิน 0.04%) เรียกได้ว่าดำสนิท ซึ่งทางบริษัทก็ได้ตั้งชื่อเจ้าสีดำนี้ว่า “Vantablack” โดยคำว่า Vanta มีที่มาจาก Vertically Aligned Carbon Nanotube Arrays  [ เข้าไปดูภาพประกอบได้ที่ https://edition.cnn.com/2017/11/15/world/vantablack-blackest-black-material/index.html  ซึ่งเจ้าสี Vantablack จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในวงการดาราศาสตร์เพราะจะสามารถนำไปใช้เคลือบเลนส์กล้องโทรทรรศน์ เพื่อลดแสงสะท้อนในการจับภาพในอวกาศได้ และนอกจากจะนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว สีดำ Vantablack ยังถูกนำไปจัดแสดงในงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ในประเทศเกาหลีใต้อีกด้วย โดยถูกนำไปเคลือบอาคารทั้งหลังและจัดแสดงคู่กับแสงไฟเพื่อให้มีลักษณะคล้ายห้วงอวกาศอันดำมืดซึ่งเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

สีที่ดำที่สุดในโลกตอนนี้ (กันยายน 2562)

          เราได้พูดถึงสีดำที่เคยดำมืดที่สุดในโลกไปแล้วทีนี้ก็ต้องได้เวลาพูดถึงสีดำที่ดำที่สุดในโลกตัวใหม่ล่าสุด! (September 2019) ซึ่งสีดำนี้ถูกอ้างจากผู้ค้นพบว่าดำกว่า Vantablack เสียอีก โดยเจ้าสีนี้สามารถดูดซับแสงเข้าไปได้มากถึง 99.995% (Vantablack มีความสามารถดูดซับแสงอยู่ที่ 99.96%) และก็มีองค์ประกอบภายในที่คล้าย Vantablack นั่นคือ vertically aligned carbon nanotubes หรือ CNTs สีดำที่ว่านี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญในขณะทำการทดลองของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของ MIT (Massachusetts Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในตอนแรกนั้นแค่ต้องการจะเคลือบวัสดุนำไฟฟ้าอย่างเช่น aluminum ด้วย CNTs เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านไฟฟ้าและทางด้านอุณหภูมิ แต่นักวิจัยก็ได้สังเกตเห็นสีดำที่เกิดขึ้นบนแผ่น aluminum foil ที่ใช้ในการทดลองนั้นดำจนผิดปกติ จึงได้ลองวัดคุณสมบัติการสะท้อนของแสง ผลปรากฏก็เป็นที่น่าตกใจเพราะสีดำที่ค้นพบนี้มีคุณสมบัติการดูดซับแสงที่ทรงประสิทธิภาพจนเกือบจะไม่มีแสงใดสะท้อนออกมาจากตัวมันเลย (ประมาณ 10 เท่าของรงควัตถุสีดำทั่วไป) แต่ว่าในขณะนี้ยังไม่มีใครสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ว่าทำไมสีดำนี้ถึงเกิดขึ้นมาได้แต่ก็จะทำการศึกษาต่อไปเพราะสีดำนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำกล้องโทรทรรศน์ที่ปราศจากแสงจ้าและแสงสะท้อนที่มักจะรบกวนการถ่ายภาพจากอวกาศอยู่เป็นประจำ

          แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในขณะนี้คือมีศิลปินที่นำสีดำนี้ไปจัดแสดงที่ The New York Stock Exchange  โดยใช้ชื่อการแสดงว่า “The Redemption of Vanity.” [ เข้าไปดูภาพประกอบได้ที่ https://www.the-redemption-of-vanity.com/ ] ซึ่งเป็นงานที่ศิลปะที่นำเอาเพชรธรรมชาติสีเหลืองขนาด 16.78 กะรัต ราคาประเมินประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเคลือบด้วยสีดำที่ถูกค้นพบนี้จนราวกับว่ามันหายไปในความมืดที่เป็นนิรันดร์

แหล่งที่มา

DAVID NIELD. (13 SEP 2019).  Engineers Just Unveiled a New Blackest-Ever Material, Even Darker Than Vantablack.  Retrieved Sep 30, 2019, from https://www.sciencealert.com/scientists-just-set-a-new-record-for-the-blackest-material-ever-created

Jennifer Chu. (September 12, 2019).  MIT engineers develop “blackest black” material to date

.  Retrieved Sep 30, 2019, from https://news.mit.edu/2019/blackest-black-material-cnt-0913

Becky Ferreira. (Sep 14 2019).  This Is the Blackest Black Ever Created.  Retrieved Sep 30, 2019, from https://www.vice.com/en_us/article/3kxaky/this-material-is-blacker-than-anything-even-vantablack

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สีของความมืด, สีดำ, การสะท้อนของแสง,ระดับความดำของสีดำ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 30 กันยายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10965 ดำดีสีไม่ตก! มาดูสีที่ดำมืดที่สุดในโลก /article-physics/item/10965-2019-10-25-06-58-12
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA
ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA
Hits ฮิต (88634)
ให้คะแนน
ระบบออนไลน์ข้อสอบ PISA เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้เผยแพร่ตัวอย่างข้อสอบ PISA ที่อนุญาตให้เผยแพร่แล้วให้ผ ...
IPST Digital Maths
IPST Digital Maths
Hits ฮิต (85546)
ให้คะแนน
ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.scimath.org/ipst-digital-maths/item/3978-ipst-digital-maths
IPST Learning Space
IPST Learning Space
Hits ฮิต (81763)
ให้คะแนน
ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. ติดตามรายละเอียดได้ที่ ht ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)