logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • มหัศจรรย์น้ำทะเลเรืองแสง

มหัศจรรย์น้ำทะเลเรืองแสง

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันจันทร์, 20 มกราคม 2563
Hits
12623

          หลายท่านคงเคยได้เห็นทะเลเรืองแสงในตอนกลางคืน ไม่ว่าจะทางภาพถ่าย ทางสื่อต่าง ๆ หรือบางท่านอาจคงเคยมีประสบการณ์ได้พบเห็นด้วยตนเอง ซึ่งปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสงนี้เราจะเรียกว่า“Bioluminescence” ซึ่งคนไทยบางพื้นที่อาจจะเรียกว่าต่อ ๆ กันมาว่า พรายน้ำ นั่นเอง  ปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร  เกิดขึ้นจากอะไร  เกิดขึ้นช่วงเวลาไหน  วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

10979 1edit

ภาพปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสง
ที่มา http://philhart.com/content/bioluminescence-gippsland-lakes

          ปรากฏการณ์ทะเลเรืองแสงสีฟ้าหรือที่เรียกกันว่า “ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ  (Red tide)” คือชื่อสามัญของปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง เป็นการรวมตัวขนาดใหญ่ของจุลชีพในท้องทะเล ซึ่งเกิดขึ้นจากไดโนแฟลกเจลเลตไม่กี่ชนิด ที่มีการสะพรั่งสีแดงหรือน้ำตาล เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือ น้ำจืด มีการสะสมอย่างรวดเร็วในห้วงน้ำ ส่งผลให้เกิดสีบนผิวน้ำ โดยปกติแล้วจะพบได้ตามชายหาด ความงามทางธรรมชาตินี้มักเกิดขึ้นในยามค่ำคืนตามธรรมชาติ  ในท้องทะเลนั้นจะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆต่าง ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าล่องลอยอยู่มากมาย หลากหลายชนิด โดยสิ่งมีชีวิตพวกนี้เรียกว่า แพลงก์ตอน (Plankton)  โดยแพลงก์ตอนที่ทำให้เกิดการเรืองแสงนี้จะเป็นแพลงก์ตอนพืชในกลุ่ม  ไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellates)  กว่า 720,000 เซลล์  เช่น Noctiluca scintillans , Gonyaulax sp. และ Pyrocystis sp. เป็นต้น โดยแพลงก์ตอนเหล่านี้สามารถทำปฏิกิริยาพิเศษที่เรียกว่า Bioluminescence ทำให้ผนังเซลล์เกิดการเรืองแสงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินได้ และยิ่งเมื่อแพลงก์ตอนพวกนี้มาอยู่รวมกันมากๆ เราจึงเห็นทะเล เรืองแสงเป็นสีน้ำเงิน หรือสีเขียวอมฟ้าออกมาได้ชัดเจน และถ้าน้ำมีการสั่นสะเทือนหรือเราลงไปในน้ำมันก็จะเกิดแสงรอบ ๆ นั่นเอง แพลงก์ตอนกลุ่มนี้พบได้ทั่วโลกเป็นปกติ แต่จะแพร่พันธุ์ได้มากเป็นพิเศษหรือ เกิดการ Bloom ขึ้นในทะเลที่มีแอมโมเนีย ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส อยู่มากและนั่นก็เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของพวกมันนั่นเอง ในภาวะปกติเจ้าพวกแพลงก์ตอนเหล่านี้จะพบไม่หนาแน่นและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ แต่หากในน้ำที่มีปริมาณธาตุอาหารมากเกินไปจะทำให้เกิดการแบ่งตัวขยายปริมาณของแพลงก์ตอนอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณมวลแพลงก์ตอนเหล่านี้อาจบดบังแสงหรือปิดกั้นผิวน้ำทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และการบดบังแสงกันเองของแพลงก์ตอนจะทำให้พวกมันค่อย ๆ ตายลงจนในที่สุด  ปรากฏการณ์นี้จะเห็นได้เฉพาะจากระยะไกล และเมื่อยามที่เรือก่อปฏิกิริยาเคลื่อนไหวต่อท้องทะเล เช่น การออกเรือ การแล่นเรือ หรือการที่คนลงไปเล่นน้ำ การเรืองแสงของแพลงตอนดังกล่าวจะอยู่ได้นานเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากนั้นแสงจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ แต่ว่าแสงที่เราได้เห็นนั้นในช่วงแรกจะมีความสว่างมากเฉพาะในคืนเดือนมืด

          อย่างไรก็ตามท้องทะเลเรืองแสงสวยงามที่เรามองเห็นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา อาจเป็นอันตรายต่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในท้องทะเล ที่เกิดจากการสาหร่ายเซลล์เดียวบางชนิดปล่อยสารพิษออกมา แต่นอกจากนั้นสาหร่ายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีจำนวนหนาแน่น จะกั้นไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องลงไปยังแหล่งน้ำได้ ทำให้พืชที่อยู่ใต้น้ำตาย เนื่องจากไม่สามารถรับแสงอาทิตย์เพื่อสังเคราะห์แสงและสร้างอาหาร ทำให้สัตว์อื่นที่กินพืชตายตามไปด้วยเนื่องจากไม่มีแหล่งอาหาร ในขณะเดียวกันเมื่อสาหร่ายตายลงก็ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย ทำให้เกิดภาวะออกซิเจนในน้ำลดลง และค่าแอมโนเนียในน้ำสูง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำซึ่งต้องอาศัยออกซิเจนในการดำรงชีวิตอีกด้วย จึงทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตบริเวณตามชายฝั่งทะเลตายเป็นจำนวนมากได้

แหล่งที่มา

Rebecca Lindsey and Michon ScottDesign by Robert Simmon. (2010, 13 Jul).  What are Phytoplankton?.  Retrieved 19 August 2019, จาก https://earthobservatory.nasa.gov/features/Phytoplankton

ทรงพจน์ สุภาผล. (2015, 31 May).  ‘แพลงก์ตอน’ สิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วในมหาสมุทรกับบทบาทแหล่งผลิตอ๊อกซิเจนแหล่งใหญ่ของโลก.  สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562, จาก https://www.voathai.com/a/world-of-plankton-ss/2796966.html

Amki Green. (2019, 14 Jan).  ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีหรือปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (Red tide).  สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/68150/-blo-sciear-sci-

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
น้ำทะเลเรืองแสง,ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ,จุลชีพในทะเล
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 21 สิงหาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10979 มหัศจรรย์น้ำทะเลเรืองแสง /article-science/item/10979-2019-10-25-07-25-14
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก
บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก
Hits ฮิต (27333)
ให้คะแนน
บูมเมอแรง (Boomerang) บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็กที่นิยมเล่นกันทั่วโลก หรือในประเทศไทยที ...
มารู้จักชุดอวกาศ
มารู้จักชุดอวกาศ
Hits ฮิต (40486)
ให้คะแนน
ทำไมมนุษย์อวกาศจำเป็นต้องสวมใส่ชุดอวกาศ มนุษย์อวกาศ สามารถสวมเครื่องแต่งตัวธรรมดา ๆ ขณะทำงานได้ นอก ...
เมื่อกาแล็กซีของเราไม่ใช่จานแบนๆอีกต่อไป
เมื่อกาแล็กซีของเราไม่ใช่จานแบนๆอีกต่อไป
Hits ฮิต (2189)
ให้คะแนน
ถ้าพูดถึงกาแล็กซีแล้ว หลายๆคนคงนึกถึงหน้าตาของกาแล็กซีที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกังหันที่เปล่งประกรายไ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)