logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • วัฒนธรรมการเกษตรในแอ่งสกล

วัฒนธรรมการเกษตรในแอ่งสกล

โดย :
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
เมื่อ :
วันศุกร์, 24 พฤษภาคม 2562
Hits
13140

          ภูมิประเทศโดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ มีทิวเขากั้นเป็นขอบสูงชันทางทิศตะวันตกและทิศใต้ แล้วตะแคงลาดไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำโขง การมีทิวเขาเป็นขอบสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้นี้เอง ทำให้คนเรียกชื่อภูมิประเทศของภาคอีสานว่า “ที่ราบสูงโคราช” (Khorat Plateau) แนวทิวเขาทางด้านตะวันตกของภาคอีสาน ประกอบด้วยทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็น ส่วนแนวทิวเขาด้านใต้ประกอบด้วยทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรัก นอกจากนี้ยังมี “ทิวเขาภูพาน” ซึ่งเป็นทิวเขาเตี้ย ๆ ทอดผ่านทางตอนในของภาคตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ทิวเขาภูพานแบ่งภาคอีสานออกเป็น 2 ส่วน คือ “แอ่งสกลนคร” (Sakon Nakhon Basin) อยู่ทางตอนเหนือ และ “แอ่งโคราช” (Khorat Basin) อยู่ทางตอนใต้บริเวณแอ่งสกลนคร เป็นบริเวณที่ราบอยู่ระหว่างทางด้านเหนือของเทือกเขาภูพานกับแม่น้ำโขง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อีสานเหนือ” ประกอบด้วย 7 จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย อุดรธานี เลย และหนองบัวลำภู  ลำน้ำส่วนใหญ่ไหลจากเขตที่สูงของทิวเขาภูพานไปยังด้านทิศเหนือ และด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง เช่น ลำน้ำโมง ลำน้ำห้วยหลง ลำน้ำก่ำ ลำน้ำพุง ลำน้ำเลย ลำน้ำเหือง ฯลฯ ลำน้ำสำคัญของแอ่งกลนครคือ “ลำน้ำสงคราม”

9821 1

ภาพสภาพนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวในพื้นที่แอ่งสกลนคร
ที่มา วรางรัตน์  เสนาสิงห์

          และจากที่ยอดเขาที่มีที่ราบกว้างใหญ่อยู่ด้านบน ขณะบริเวณที่อยู่ที่ต่ำลงมาเป็นที่ราบลูกคลื่น (Rolling Plain) และมีที่ราบที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่รอบ ๆ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งเป็นที่ราบต่ำบริเวณก้นแอ่งโคราชรวมทั้งบริเวณที่ราบรอบ ๆ หนองหาน จังหวัดสกลนคร ที่เป็นบริเวณที่ราบต่ำบริเวณก้นแอ่งสกลนคร บริเวณที่ราบเหล่านี้จะเป็นท้องนา ทุ่งข้าว และพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ทำไร่ทำนามาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งจากสภาพทั่วไป และสภาพทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวเห็นได้ว่า ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากมีขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรมีขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ของประเทศแล้ว ภาคอีสานยังมีลักษณะภูมิสัณฐานที่มีความแปลกตาไปจากภูมิภาคอื่น มีทิวเขาหินทรายที่มีลักษณะเป็นภูเขายอดตัด มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ ที่เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ภาคอีสานยังเป็นแหล่งสำคัญทางธรณีวิทยา พบฟอสซิลไดโนเสาร์หลายชนิด และเป็นแหล่งอารยธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอีกด้วย

แหล่งที่มา

webmaster: รายวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2552, 20 ตุลาคม).  สภาพทางภูมิศาสตร์และพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแอ่งสกลนคร.  สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://cultural.snbs.snru.ac.th/components/contents/view.php?id=2

จังหวัดสกลนคร.  สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดสกลนคร

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง. (2559, 18 กุมภาพันธ์).  ภูมิวัฒนธรรม : ตามไปส่องซอด สอดส่อง คนเมืองสกลฯ..ละเบ๋อ.  สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://lek-prapai.org/home/view.php?id=735

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
วัฒนธรรม, การเกษตร, แอ่งสกล, อีสานเหนือ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 07 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9821 วัฒนธรรมการเกษตรในแอ่งสกล /article-science/item/9821-2019-02-21-08-41-22
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำลด
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำ...
Hits ฮิต (14987)
ให้คะแนน
กระทรวงสาธารณสุขแนะหลังน้ำลด ควรรีบทำความสะอาดบ้านภายใน 24 - 48 ชั่วโมง กำจัดเชื้อรา เสื้อผ้าที่จมน ...
การกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาด(อย่างถูกวิธี)
การกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาด(อย่างถูกวิธี)
Hits ฮิต (16225)
ให้คะแนน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก myfirstbrain และวิชาการดอทคอม ทุกวันนี้ เทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว คุณพ่อ ...
ทะเลหมอก เกิดขึ้นได้อย่างไร
ทะเลหมอก เกิดขึ้นได้อย่างไร
Hits ฮิต (82481)
ให้คะแนน
ช่วง 2- 3 วันที่ผ่านมา ไม่ต้องไปตามหาทะเลหมอกกันถึงยอดภู ทางเหนือของประเทศ เราก็ได้สัมผัสอากาศเย็นๆ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)