logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • 6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า

6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันศุกร์, 13 มีนาคม 2563
Hits
8360

          ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังใช้งานโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือที่เรียกว่า 4G ที่อาจเรียกได้ว่าไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่นัก  แต่ในปีหน้าจะมีบางประเทศที่เริ่มให้บริการโครงข่าย 5G มาเริ่มใช้ในสังคมกันมากขึ้น และเมื่อมองไปไกลกว่านั้นภายในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า ประเทศที่เริ่มรองรับ 5G จะพัฒนาโครงข่ายไปถึงมาตรฐาน 6G

11204

ภาพอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน
ที่มา https://www.pexels.com/photo/apple-iphone-smartphone-desk-4158/

ทำความเข้าใจกันก่อนว่าสัญญาณ 5G คืออะไร ทำงานอย่างไร

          ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มต้นยุคแรกการเกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่ามือถือ โดยยุคแรกเริ่มมีการใช้ผ่านระบบแอนะล็อกที่สามารถคุยกันผ่านเสียงได้ เราเรียกยุคนั้นว่ายุค 1G จากนั้นเราก็ค่อยๆ เข้าสู่ยุค 2…3 และ 4G ที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือการเครื่องมือสื่อสารแบบสมาร์ตโฟนโดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถดูภาพและเสียง เล่นเกม และหนังออนไลน์ได้ในระดับที่ไม่กระตุกหรือค้างจนชวนหงุดหงิด สำหรับยุค 5G ที่กำลังจะถูกเข้ามาแทนที่นั้น เรียกว่าเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 5 ของการสื่อสารแห่งอนาคต ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแค่เพียงมือถือเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดที่ “เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้” ซึ่งคุณสมบัติของ 5G ว่ากันว่าจะสามารถดาวน์โหลด หรือดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ฯลฯ ด้วยความเร็วในระดับ 10,000 Mbps กันเลยทีเดียว

          เทียบให้เห็นกันชัดๆ หากในตอนนี้เราดาวน์โหลดไฟล์ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตในระบบ 4G จะต้องใช้เวลา 10 นาที แต่ถ้าเปลี่ยนเข้าสู่ 5G จะใช้เวลาเพียงแค่ “10 วินาที” เท่านั้น ถือว่าเป็นสัดส่วนเหนือชั้นของความเร็วในการใช้งาน และยังสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้คนยุคนี้เป็นอย่างมาก นอกจากการดาวน์โหลดแล้ว จุดเด่นอีกมากมายของระบบนี้คือ การเชื่อมต่อไปปลายทางได้เร็วถึง 0.001 วินาที ใช้พลังงานน้อยลงถึง 90% ดังนั้นแบตเตอรี่จึงลดความเสื่อมสภาพ ใช้งานได้ยาว ๆ เกิน 10 ปีกันเลยทีเดียว ถ้าวันหนึ่งที่ 5G เริ่มถูกนำมาใช้งาน เรียกสั้นๆ ว่า 4G กลายเป็นเต่า ส่วน 5G คือกระต่ายที่วิ่งเร็วแบบไม่เห็นฝุ่นก็ว่าได้

จากสัญญาณ 5G สู่ สัญญาณ 6G โลกแห่งอนาคต กับแนวทางที่มีความเป็นไปได้

          เมื่อเราเห็นระดับไฮคลาสของ 5G ที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตผู้คนกันได้แบบเรียลทาร์มขนาดนี้ ก็มีการเริ่มต้นพัฒนาระบบ 6G กันเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว อาจจินตนาการได้ยากว่าระบบที่เหนือกว่า 5G จะเหนือชั้นสักแค่ไหน ซึ่งจากที่ปรากฏให้เห็นในตอนนี้คือการทำงานร่วมกับเหล่าจักรกลอัจฉริยะหรือ AI       (Artificial Intelligence)  ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วด้วยความอัจฉริยะและสมองอันชาญฉลาด ความคิดอ่านที่รวดเร็วเหนือมนุษย์ ระบบ 6G ก็จะกลายเป็นการเชื่อมต่อที่เหนือกว่าแค่สัญญาณอินเทอร์เน็ต เช่น การทำงานของรถยนต์ไร้คนขับที่จะเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบ AI (Artificial Intelligence) เป็นเครือข่าย สามารถขับรถได้ในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยการจราจรได้แบบไม่มีผิดพลาด โดยการถ่ายทอดสัญญาณไปกลับระหว่างกัน ยังใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น จึงทำให้การประมวลผลรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงทันท่วงทีสำหรับใช้งาน หรือแม้กระทั่งระบบนาฬิกาข้อมือของคนออกกำลังกายที่ผสานเทคโนโลยี AI  เข้าไปด้วย จะไม่ใช่แค่นับก้าว ดูเวลา หรือวัดอัตราการเร่งของหัวใจเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เตือนให้ระมัดระวัง บอกทิศทางว่าต้องเลี้ยวไปทางไหน หรือทางไหนควรเลี่ยง

          ซึ่งหากเทียบกับในยุคปัจจุบันนั้น ระบบจะต้องใช้การคำนวณอันซับซ้อนและหนักมาก กว่าจะได้ชุดข้อมูลหนึ่งๆ ออกมา ดังนั้นการเชื่อมโยงของ 6G อาจเปรียบเสมือนสมองขนาดยักษ์ที่เชื่อมทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกันเป็น 1 สมอง จากนั้นก็จะทำการประมวลผลให้ทุกอย่างสอดคล้องกัน และเกิดการใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนทั่วทุกมุมโลก

          ด้วยการร่างโครงแห่งอนาคตของ 6G ที่เห็นเป็นข้อมูลคร่าวๆ โดยมีการใช้ประโยชน์จาก AI เข้ามาคอยช่วยเหลือ หากระบบนี้ถูกนำมาใช้เมื่อไหร่ เชื่อว่าสังคมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะความสะดวกสบาย และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนให้กลายเป็นเรื่องง่าย อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นตอนทดลองเล็กๆ น้อยๆ ยังมีความท้าทายอีกมากมายที่นักพัฒนาจะต้องก้าวข้าม แต่เชื่อว่าสักวัน พวกเราทุกคนจะมีโอกาสได้สัมผัสกับโลกอนาคตที่เหนือชั้นและไร้ทุกขีดจำกัดผ่านเครือข่ายไร้สายขั้นสุดยอดที่รวดเร็วจนแทบไม่ต้องเสียเวลาไปกับการนั่งรออีกต่อไป

แหล่งที่มา

กรุงเทพธุรกิจ. (2019, 3 Dec).  มาแน่ๆ 10 เทคโนโลยีจากอนาคต ที่ภาคธุรกิจพลาดข้อมูลไม่ได้.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562, จาก https://preyproject.com/blog/en/what-are-cyber-threats-how-they-affect-you-what-to-do-about-them/

Masha, Borak. (2561, 17). Forget 5G, China is working on 6G – but what does it do? : a review.  Retrieved November 17, 2018, from https://www.techinasia.com/forget-5g-china-working-6g

Forget 5G, China is working on 6G – but what does it do? : a review.  Retrieved December 3, 2019, from https://www.technologyreview.com/s/613338/ready-for-6g-how-ai-will-shape-the-network-of-the-future/

Patrick, Nelson. (2562, 12). 6G will achieve terabits-per-second speeds : a review.  Retrieved December 3, 2019, from https://www.networkworld.com/article/3305359/6g-will-achieve-terabits-per-second-speeds.html 

Modern Manufacturing. (2019, 11 Sep).  10 เทคโนโลยีสำคัญที่ต้องจับตาจากมุมมองของ Thailand Tech Show 2019.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562, จาก https://www.mmthailand.com/ 10-เทคโนโลยีต้องจับตา-thailand-tech-show-2019/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
6G, โครงข่าย 6G ,สัญญาณอินเทอร์เน็ต,AI,เทคโนโลยี AI,การสื่อสารข้อมูล,สัญญาณโทรศัพท์มือถือ
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 03 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11204 6G โครงข่ายในอีก 10 ปีข้างหน้า /article-technology/item/11204-6g-10
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ทำความรู้จักโปรแกรม Scratch โปรแกรมพัฒนาทักษะ
ทำความรู้จักโปรแกรม Scratch โปรแกรมพัฒนา...
Hits ฮิต (22760)
ให้คะแนน
ทำความรู้จักโปรแกรม Scratch โปรแกรมพัฒนาทักษะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งเป็นโปรแกรม ...
eSIM คืออะไร
eSIM คืออะไร
Hits ฮิต (6762)
ให้คะแนน
หลายคนที่มีโทรศัพท์มือถือติดตัวคงรู้จัก ซิมการ์ด (SIM card) ที่ใส่ในโทรศัพท์มือถือใช้เพื่อติดต่อสื่ ...
Image Processing กับประโยชน์ทางการแพทย์
Image Processing กับประโยชน์ทางการแพทย์
Hits ฮิต (20239)
ให้คะแนน
การประมวลผลภาพหรือที่เรียกว่า Image Processing เป็นเรื่องใกล้ตัวของคนเราอยู่มาก เพราะภาพถ่ายหรือภาพ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)